-หลังจากที่พระองค์ทรงใช้คอมพิวเตอร์ในการเเต่งเพลงไปสักระยะหนึ่ง พระองค์ก็ได้สนใจในการออกเเบบรูปเเบบอักษร หรือฟอนต์(font) โดยพระองค์ทรงศึกษาโปรเเกรม "Fontastic" เเละพระองค์ทรงได้ประดิษฐ์ฟอนต์ขึ้นมา
-อันได้เเก่ ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์ เเละฟอนต์ไทยอื่นๆอีกมากมายเเละนอกจากฟอนต์ภาษาไทยเเล้วพระองค์ทรงประดิษฐ์ฟอนต์ภาษาอื่นๆอีกด้วย เช่น ฟอนต์ภาษาสันสกฤต ฟอนต์ภาษาเทวนาครี
(ภาษาเเขก) เป็นต้น ซึ่งฟอนต์เทวนาครีนี้มีความยากในการออกเเบบที่ยากกว่าฟอนต์อื่นๆ มาก เพราะ ตัวอักษรเทวนาครี หรือ ตัวอักษรเเขกนั้น มีรูปเเบบที่ไม่คงตัว เหมือนตัวอักษรภาษาอื่นๆ ที่ทั่วโลกใช้กัน หรือกล่าวคือ ถ้านำส่วนหนึ่งของอักษรนำมาต่อรวมกับอีกส่วนหนึ่งอักษร จะเกิดอักษรใหม่ขึ้นนั้นเอง
ดร.ไพรัช : ทางด้านคอมพิวเตอร์ ข้าพระพุทธเจ้าเคยได้ยินว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ font
ตอบลบสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ : เข้าใจว่าประดิษฐ์เหมือนกับที่ทำตัวเขียนอะไรต่างๆ อย่างของ PC นี้ แต่ก่อนท่านจะใช้ CU WRITER แล้วก็เอามาทำเขียนทีละตัวๆ เขียนภาษาสันสกฤตซึ่งทำเอง หรือว่าตัวเขียนภาษาไทยนี่ก็ทำเอง เพราะรู้สึกว่าท่านไม่โปรดมากที่เข้าประดิษฐ์ตัวเขียนกันใหม่ๆ ตัวเขียนที่ขีดเส้นฉวัดเฉวียนอะไรนี่ กริ้วทุกที ท่านก็จะเขียนของท่านเอง แต่ว่าที่ประดิษฐ์คำนั้น ท่านก็ใช้ software ของเดิม เพราะฉะนั้น ท่านเคยรับสั่งเมื่อมีการเฉลิมพระเกียรติอะไรกันทีหนึ่ง ว่าจะเอา font ของท่านเผยแพร่ ท่านจึงบอกว่า ความจริงแล้วมันไม่ถูก เพราะลิขสิทธิ์เป็นของคนอื่น ของเราเป็นแค่เอามาเขียน แต่ว่าตัวโปรแกรมเก่าเป็นของคนอื่น ท่านไม่ได้ทำมาเองตั้งแต่ต้น มันไม่ถูก แต่ว่าที่เห็นท่านเขียนเองเป็นตัวสันสกฤต (หมายถึงอักษรเทวนาครี) ไม่ได้ซื้อมาสำเร็จรูปแบบที่ว่าใครเขาทำเอาไว้แล้ว
จาก "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนทนาเรื่อง พระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับเทคโนโลยีสารสนเทศ" วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา หน้า 19-21 คัดลอกจากหนังสือ " ดุจดวงตะวัน" พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี